จังหวัดในประเทศไทย ปัจจุบันมี 76 จังหวัด
การแบ่งภาคของประเทศไทย
ราช บัณฑิตยสถาน แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภาค โดยใช้เกณฑ์ด้านภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นการแบ่งที่ใช้อย่างเป็นทางการ และมีใช้ทั่วไปในแบบเรียน
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ภาคตะวันตก
ภาคใต้
ภาคเหนือ มี 9 จังหวัด
1. จังหวัดเชียงราย
2. จังหวัดเชียงใหม่
3. จังหวัดน่าน
4. จังหวัดพะเยา
5. จังหวัดแพร่
6. จังหวัดแม่ฮ่องสอน
7. จังหวัดลำปาง
8. จังหวัดลำพูน
9. จังหวัดอุตรดิตถ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 20 จังหวัด
1. จังหวัดกาฬสินธุ์
2. จังหวัดขอนแก่น
3. จังหวัดชัยภูมิ
4. จังหวัดนครพนม
5. จังหวัดนครราชสีมา
6. จังหวัดบึงกาฬ
7. จังหวัดบุรีรัมย์
8. จังหวัดมหาสารคาม
9. จังหวัดมุกดาหาร
10. จังหวัดยโสธร
11. จังหวัดร้อยเอ็ด
12. จังหวัดเลย
13. จังหวัดสกลนคร
14. จังหวัดสุรินทร์
15. จังหวัดศรีสะเกษ
16. จังหวัดหนองคาย
17. จังหวัดหนองบัวลำภู
18. จังหวัดอุดรธานี
19. จังหวัดอุบลราชธานี
20. จังหวัดอำนาจเจริญ
ภาคกลาง มี 22 จังหวัด (*กรุงเทพมหานครไม่ถือเป็นจังหวัด)
1. จังหวัดกำแพงเพชร
2. จังหวัดชัยนาท
3. จังหวัดนครนายก
4. จังหวัดนครปฐม
5. จังหวัดนครสวรรค์
6. จังหวัดนนทบุรี
7. จังหวัดปทุมธานี
8. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
9. จังหวัดพิจิตร
10. จังหวัดพิษณุโลก
11. จังหวัดเพชรบูรณ์
12. จังหวัดลพบุรี
13. จังหวัดสมุทรปราการ
14. จังหวัดสมุทรสงคราม
15. จังหวัดสมุทรสาคร
16. จังหวัดสิงห์บุรี
17. จังหวัดสุโขทัย
18. จังหวัดสุพรรณบุรี
19. จังหวัดสระบุรี
20. จังหวัดอ่างทอง
21. จังหวัดอุทัยธานี
22.กรุงเทพมหานคร *
ภาคตะวันออก มี 7 จังหวัด
1. จังหวัดจันทบุรี
2. จังหวัดฉะเชิงเทรา
3. จังหวัดชลบุรี
4. จังหวัดตราด
5. จังหวัดปราจีนบุรี
6. จังหวัดระยอง
7. จังหวัดสระแก้ว
ภาคตะวันตก มี 5 จังหวัด
1. จังหวัดกาญจนบุรี
2. จังหวัดตาก
3. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
4. จังหวัดเพชรบุรี
5. จังหวัดราชบุรี
ภาคใต้ มี 14 จังหวัด
1. จังหวัดกระบี่
2. จังหวัดชุมพร
3. จังหวัดตรัง
4. จังหวัดนครศรีธรรมราช
5. จังหวัดนราธิวาส
6. จังหวัดปัตตานี
7. จังหวัดพังงา
8. จังหวัดพัทลุง
9. จังหวัดภูเก็ต
10. จังหวัดระนอง
11. จังหวัดสตูล
12. จังหวัดสงขลา
13. จังหวัดสุราษฎร์ธานี
14. จังหวัดยะลา
การแบ่งแบบอื่น
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แบ่งประเทศไทยออกเป็น 6 ภาค มีขอบเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้เหมือนกับภูมิภาคทาง ภูมิศาสตร์ แต่ขอบเขตของภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกแตกต่างไปจากภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ดังนี้
ภาคเหนือ มี 17 จังหวัด
1. จังหวัดกำแพงเพชร
2. จังหวัดเชียงราย
3. จังหวัดเชียงใหม่
4. จังหวัดตาก
5. จังหวัดนครสวรรค์
6. จังหวัดน่าน
7. จังหวัดพะเยา
8. จังหวัดพิจิตร
9. จังหวัดพิษณุโลก
10. จังหวัดเพชรบูรณ์
11. จังหวัดแพร่
12. จังหวัดแม่ฮ่องสอน
13. จังหวัดลำปาง
14. จังหวัดลำพูน
15. จังหวัดสุโขทัย
16. จังหวัดอุตรดิตถ์
17. จังหวัดอุทัยธานี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 20 จังหวัด
ประกอบด้วย 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางภูมิศาสตร์ เช่นเดียวกับราชบัณฑิตยสถาน
ภาคกลาง มี 9 จังหวัด
1. กรุงเทพมหานคร
2. จังหวัดชัยนาท
3. จังหวัดนนทบุรี
4. จังหวัดปทุมธานี
5. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
6. จังหวัดลพบุรี
7. จังหวัดสิงห์บุรี
8. จังหวัดสระบุรี
9. จังหวัดอ่างทอง
ภาคตะวันออก มี 9 จังหวัด
1. จังหวัดจันทบุรี
2. จังหวัดฉะเชิงเทรา
3. จังหวัดชลบุรี
4. จังหวัดตราด
5. จังหวัดนครนายก
6. จังหวัดปราจีนบุรี
7. จังหวัดระยอง
8. จังหวัดสมุทรปราการ
9. จังหวัดสระแก้ว
ภาคตะวันตก มี 8 จังหวัด
1. จังหวัดกาญจนบุรี
2. จังหวัดนครปฐม
3. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
4. จังหวัดเพชรบุรี
5. จังหวัดราชบุรี
6. จังหวัดสมุทรสงคราม
7. จังหวัดสมุทรสาคร
8. จังหวัดสุพรรณบุรี
ภาคใต้ มี 14 จังหวัด
ประกอบด้วย 14 จังหวัดปักษ์ใต้ทั้งหมด โดยนับจากจังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส เช่นเดียวกับราชบัณฑิตยสถาน
ความแตกต่างกันทั้ง2แบบคือ ภาคเหนือของราชบัณฑิตยสถาน มี 9 จังหวัด แต่ของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แบ่งให้ภาคเหนือมี 17 จังหวัด และภาคกลาง ตะวันออก ตะวันตก ก็ต่างกัน ที่เหมือนกันจึงมีเพียง 2 ภาค ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้
และยังมีการจัดแบบของ กรมอุตุนิยมวิทยา และของกรมทางหลวง อีกฯล
ที่มาข้อมูลเพิ่มเติม : http://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดในประเทศไทย